Header Ads

Breaking News

ดีป้า สร้าง Digital Industry Sentiment Index ช่วยผู้ประกอบการไทยวางแผนฟื้นธุรกิจ

สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล แถลงผลสํารวจดัชนีความ เชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล หรือ Digital Industry Sentiment Index ชูการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ดิจิทัลบนพื้นฐานของข้อมูล ผลสํารวจชี้ COVID-19 กระทบอุตสาหกรรมดิจิทัล ไม่น้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ แม้การใช้งานดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดก็ตาม ในขณะที่ธุรกิจบริการดิจิทัล (Digital Services) เติบโตสวน ทางกับตลาดฮาร์ดแวร์ที่กําลังดิ่งลงจากพฤติกรรมผู้บริโภค ทําให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ทั้งนี้จากดัชนีความ เชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม สะท้อนให้เห็นว่า กลไกต่างๆ กําลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และมีแนวโน้มที่จะเกิดอุตสาหกรรมใหม่ แต่ยังขาดกําลังคนดิจิทัลที่จะสร้างความ ได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อํานวยการใหญ่ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ตามที่ได้รับมอบหมายจาก นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้ดีป้าเร่งพัฒนาข้อมูลต่างๆ เพื่อรุดหน้านําร่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลบนพื้นฐานของ ข้อมูลที่สร้างให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจและประชาชนนั้น ดีป้าจึงได้เร่งดําเนินการทําสํารวจ Digital Industry Sentiment Index ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสํารวจที่ดีป้าดําเนินการเพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ทั้งดัชนีชี้วัดระดับสากล และฐานข้อมูลที่ดีป้าสํารวจเอง ทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการที่เป็นฐานข้อมูลและแนวโน้ม อุตสาหกรรมดิจิทัล และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สํารวจและนําเสนอผลรายไตรมาส ตลอดจนการสํารวจ ฝั่งผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมโดยในระยะแรกมุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิตเป็นอันดับแรก และจะขยายผลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ และภาคบริการต่อไปในอนาคตอันใกล้

“แนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของมูลค่าตลาดของ อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งสามารถบ่งชี้ว่าประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและมีการเติบโตของอุตสาหกรรม ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพราะดิจิทัลกลายเป็นปัจจัยสําคัญทั้งในการขับเคลื่อนธุรกิจและการใช้ชีวิตประจําวัน แต่อย่างไรก็ตามเรายังขาดแคลนเรื่องกําลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มสําคัญในการสร้างความได้เปรียบ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมดิจิทัลไทย กําลังคนดิจิทัลที่มีศักยภาพ ความสามารถสูง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะเข้ามาเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตในตลาดโลก

บัณฑิตที่จบใหม่ ต้องพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีทักษะตามที่ตลาดแรงงานดิจิทัลต้องการ ทํางานได้ทันที จึงต้องมีการ Upskill หรือ Reskill ก่อนที่บัณฑิตเหล่านี้จะเข้าสู่ตลาด ดัชนีความเชื่อมั่นจึงเป็นเสียงสะท้อนว่า นโยบายที่ภาครัฐใช้นั้นเกิดผลสําเร็จได้จริงหรือไม่ หากค่าดัชนีฯ ต่ําหมายถึง ภาคธุรกิจไม่มีความเชื่อมั่นในนโยบาย ของรัฐและการทํางานของภาครัฐ เพราะฉะนั้น ดัชนีฯ จึงเป็นเสียงสะท้อนโดยตรงจากผู้ประกอบการดิจิทัล” ผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าวเสริม

ทั้งนี้ในเชิงรายละเอียดจากการสํารวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ระดับ 43.4 ถือว่าอยู่ในระดับต่ํา ชี้ว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่าง รุนแรงในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ แม้ว่าในช่วง COVID-19 จะมีผู้ใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดก็ตาม แต่ผู้ประกอบการดิจิทัลส่วนใหญ่ระบุว่า COVID -19 ทําให้ผลประกอบการโดยรวมลดลง เนื่องจากขาดแคลนแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการขับเคลื่อนธุรกิจ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขาดแคลนแรงงานที่ตรงกับสายงานที่กิจการต้องการ เป็นต้น

ต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3/2563 นี้ ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.8 เป็นผลมาจากรัฐบาลเพิ่งผ่อน คลายมาตรการการควบคุมโรค COVID-19 และเร่งฟื้นฟูธุรกิจหลังจากผ่านวิกฤต COVID-19 ทําให้ผู้ประกอบการ ดิจิทัลเริ่มได้รับการจ้างดําเนินงานหรือมีโครงการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ COVID-19 เป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนทั้ง หน่วยงานรัฐ และเอกชน ภาคการศึกษา นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการดิจิทัลมีผลประกอบการดีขึ้นแต่ยังไม่กลับสู่สถานการณ์ปกติ คาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล จะปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 61.2 เนื่องจาก COVID-19 เป็นตัวเร่งที่ทําให้ ทุกภาคส่วนเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น Cloud Technology, Software, Social Media, Online Entertainment และ Online Payment มาปรับใช้ในการทํางานหรือเกิด Digital Transformation องค์กรมากขึ้น

นอกจากนี้ดีป้าได้ศึกษาเพิ่มเติมควบคู่กับ มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลปี 2561-2562 คาดการณ์ 3 ปี ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์กําลังประสบปัญหา จากมูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มลดลง ฉุดรั้งให้มูลค่า ตลาดฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะปรับตัวลดลงตามไปด้วย จาก 325,261 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 299,342 ล้านบาทในปี 2562 โดยปัจจัยหลักเกิดมาจากการบริโภคอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ลดลง และเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ในรูปแบบบริการมากขึ้น พร้อมทั้งแทนที่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงบริการดิจิทัลมากขึ้นจากอุปกรณ์สื่อสาร ทําให้มูลค่าตลาดบริการดิจิทัลเติบโตขึ้นสวนทางกับตลาดฮาร์ดแวร์ที่มูลค่าตลาดลดลง แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่น จะบ่งชี้ว่า ในภาพรวมผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะก็ยังคงต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐ ทั้งในด้านการด้านการแข่งขันทางด้านดีไซน์ การสร้างตลาดใหม่ ของกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่จะต้องผลักดันให้ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ผลิต แล้วส่งออก แต่ต้องมีตลาด ภายในประเทศ

โดย ดร.ณัฐพล ได้กล่าวทิ้งท้ายในด้านการพัฒนากําลังคนดิจิทัลว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัล จะสอดคล้องกับการจ้างงานที่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านดีไซน์ ด้าน Machine Learning และในการเพิ่มผลิตผลในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพราะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน ขณะเดียวกัน ทักษะแรงงาน ควรจะเป็นแรงงานที่มีทักษะ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น Data Analytic หรือ Data Engineering เป็นต้น

สําหรับรายงานผลสํารวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล Digital Industry Sentiment Index ดีป้าได้เผยแพร่สู่สาธารณะ และเปิดให้เข้าถึงได้ผ่าน www.depa.or.th และ เพจเฟซบุ๊ก depa Thailand สําหรับ ผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจได้นําข้อมูลดังกล่าวไปต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ รวมถึงการ สํารวจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ที่ ดีป้า ดําเนินการได้ หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ฝ่ายนโยบายและ ยุทธศาสตร์ ดีป้า

ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล หรือ Digital Industry Sentiment Index เป็นการสํารวจความ เชื่อมั่นของผู้ประกอบการดิจิทัลในมิติต่างๆ เจาะลึกในด้านผลประกอบการ ด้านปริมาณการผลิต การค้า การบริหาร ด้านการจ้างแรงงาน ด้านต้นทุนประกอบการหรือการผลิต และด้านคําสั่งซื้อหรือโครงการที่ทําร่วมกับ พันธมิตร จากผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนกับทาง ดีป้า ทั้งผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ อัจฉริยะ บริการดิจิทัล และดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Provider) รวมถึงดิจิทัลสตารท์ อัพ ที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และผ่านการรับรองมาตรฐานสากล เช่น ISO/IEC29110 หรือ CMMI, ISO/IEC27001 แล้วทั้งสิ้น ข้อมูลที่ได้จากการสํารวจจึงได้มาจากกลุ่มผู้ประกอบการตัวจริงและเชื่อถือได้ โดยดีป้าได้เริ่มทําการสํารวจความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลในช่วงไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา

ไม่มีความคิดเห็น