เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือ..เฮ..ก.เกษตรฯ ทุ่มงบ 10,018 ล้านบาท เยียวยาโรคระบาด ลัมปีสกิน
เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือ เฮ กระทรวงเกษตฯ รทุ่มงบ 10,018 ล้านบาท เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ลัมปีสกิน ตาย จ่าย อัตราใหม่ ทุกราย ย้อนหลังถึงเดือนมีนาคม 64 เกษตรกรแจ้งตรงที่ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ได้ทันที ก่อนประชาคมตรวจสอบให้โปร่งใส ประเดิม 4 จังหวัดแรก เริ่มต้นกันยายน นี้
เมื่อวันที่ 8 ก.ย.64 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เปิดเผยว่าจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคลัมปีสกิน ในโค กระบือ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้กระทรวงเกษตรฯ
เร่งรัดในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้เร็วที่สุด หลังจากที่มีการระบาดมาหลายเดือน
โดยกรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการต่างๆ ในการควบคุมโรค ทำให้สถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้นตามลำดับ
ซึ่งขณะนี้พบการระบาดสะสม รวม 65 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 268,371 ราย โค-กระบือ
ป่วยสะสม 581,747 ตัว รักษาหายแล้ว 441,543 ตัว อยู่ระหว่างการรักษา 90,879 ตัว
ป่วยตายสะสม 51,073 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2564)
ทั้งนี้ล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด
ที่ประสบปัญหา โค กระบือ เสียชีวิตลง และให้เกิดความเป็นธรรมต่อเกษตรกร จึงได้มีกำหนดอัตราการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโค-กระบือ
เสียชีวิตจากโรคลัมปี-สกิน ใหม่ ตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ.2564 นั้น ใหม่ ซึ่งมีการกำหนดช่วยเหลือเกษตรกรที่โคเสียชีวิต ตามการเสียชีวิตจริง
และไม่เกินรายละ 5 ตัว ในอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือโค ที่เสียชีวิตที่อายุน้อยกว่า
6 เดือน ตัวละ 13,000 บาท อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ตัวละ 22,000 บาท อายุมากกว่า 1
ปี ถึง 2 ปี ตัวละ 29,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป ตัวละ 35,000 บาท ขณะที่
กระบือ ที่เสียชีวิตจ่ายตามจริงและไม่เกินรายละ 5 ตัว ในอัตราที่กำหนด
โดยกระบืออายุน้อยกว่า 6 เดือน ตัวละ 15,000 บาท
อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ตัวละ 24,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี ตัวละ 32,000
บาท อายุมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป ตัวละ 39,000
บาท
สำหรับประกาศหลักเกณฑ์ปลีกย่อยฯ อัตราใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการ
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563
และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ.2564 ไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อให้สามารถเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี–สกิน
ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 ครอบคลุมมากขึ้นทั้งเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน
และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน รวมถึงกรณีที่เกษตรกรไม่ได้เก็บหลักฐานการตายของสัตว์ไว้
ก็สามารถไปแจ้งที่ปศุสัตว์อำเภอ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการทำประชาคมให้จบ หากทำประชาคมครบ
3 วันแล้ว ไม่มีผู้คัดค้าน ก็สามารถรับเงินเยียวยาได้ทันที นอกจากนี้กรณีที่เกษตรกรได้รับเงินเยียวยาไปแล้วในเรทอัตราเยียวยาเก่า
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทบทวนอีกครั้ง
เพื่อจ่ายเงินเยียวยาส่วนต่างเพิ่มเติมให้เท่ากันอัตราการเยียวยาใหม่
ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร กรณี
โค-กระบือ ป่วยตายด้วยโรคลัมปี-สกิน ไว้ที่ 1,018,009,150 บาท
“พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การระบาดของโรค และได้สั่งการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แก้ไขปัญหาและดูแลเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้เร็วที่สุด
ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ มี 4 จังหวัด
ที่เกษตรกรส่งเอกสารเข้ามาครบแล้ว และกรมปศุสัตว์ตรวจสอบข้อมูล ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนครบถ้วนแล้ว
ได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสระแก้ว
เป็นเกษตรกร 2,576 ราย สัตว์ตาย 2,800 ตัว ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำลังทยอยจ่ายเงินเยียวยา
จำนวน 29,772,000 บาท ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่แจ้ง ให้เร่งแจ้งได้ทันทีเจ้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่
เพื่อจะเร่งจ่ายให้กับเกษตรกรให้เร็วที่สุด“ รมช.ประภัตร กล่าว
นายประภัตรฯ กล่าวอีกว่า ในส่วนวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาด กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการสั่งวัคซีน LSDV ป้องกันโรคลัมปี-สกิน เข้ามาเพิ่มอีก 5 ล้านโด๊ส โดยมีการนำเข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว ล็อตแรก 2.5 ล้านโด๊ส และจะทยอยเข้ามาอีกในล็อตที่สอง และล็อตที่สาม จนครบ 5 ล้านโด๊ส ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการวางแผนจัดสรรวัคซีนไว้แล้ว ยึดตามหลักรวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม ตามสัดส่วนของจำนวนประชากรสัตว์ทั่วประเทศ โดยขณะนี้หน่วยงานในสังกัดของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ มีการทำแผนวัคซีนเรียบร้อยแล้ว และสามารถดำเนินการได้ทันที
ไม่มีความคิดเห็น