ตำรวจไซเบอร์ จับรับจ้างเปิด “บัญชีม้า” เยาวชนอายุต่ำสุด 15 ปี เสียอนาคต ร่วมหลอกลวง ภัยออนไลน์
ว่าจ้างผู้อื่นให้ไปเปิดบัญชีธนาคารให้ แล้วนำบัญชีธนาคารนั้นไปกระทำความผิด หรือที่เรียกว่า “บัญชีม้า”
จับกุมผู้ต้องหา 131 ราย
ตรวจยึดของกลางบัญชีม้าจำนวนมาก ความเสียหายกว่า 300 ล้านบาท
วันที่ 23 ธ.ค.64 เวลา
14.00 น. ที่กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
(สอท.) ณ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. พร้อมด้วยคณะผู้บังคับบัญชาในสังกัด
บช.สอท.-คณะทำงานฯ และ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. รรท.เลขาฯ
กสทช., นายธวัช ไทรราหู ประธานชมรมตรวจสอบและป้องกันทุจริต
สมาคมธนาคารไทย, และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันแถลงผลการระดมปฏิบัติการปราบปราม ”บัญชีม้า” เพื่อตัดวงจรการหลอกลวงภัยออนไลน์
โดยในระหว่างวันที่ 16-22 ธ.ค.2564 (7 วัน)
สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด 26 ราย
ตรวจยึดของกลางบัญชีธนาคารจำนวนมาก มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 36 ล้านบาท เช่น คดีหลอกลวงให้ร่วมลงทุนเทรดเงินสกุลดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน
DAXIN, คดีหลอกขายโทรศัพท์ไอโฟนให้กับเด็ก นร.ชั้น ม.2 อายุ 14 ปี, คดีเล่นแอปหาคู่ถูกหญิงหลอกเล่นหุ้นออนไลน์,
คดีเอเย่นต์รับซื้อขายบัญชีม้า และปล่อยเลขล็อคกองสลาก
คดีสำคัญคือ
ตำรวจไซเบอร์ได้นำกำลังเข้าค้นบ้านพักในจังหวัดชลบุรี
หลังสืบทราบว่าเป็นบ้านของขบวนการเอเย่นต์รับซื้อขายบัญชีม้า
ตรวจค้นพบบัญชีธนาคารหลายธนาคารรวม 107 บัญชี ของบุคคลต่างๆ รวมกว่า 60
คน เจ้าของบ้านยอมรับว่า ได้รับซื้อบัญชีจากชาวบ้านในละแวก บัญชีละ 800-1200
บาท ซึ่งแต่ละบัญชีจะต้องมีบัตร ATM หรือผูกกับแอปพลิเคชั่นธนาคารออนไลน์ไว้แล้ว
นอกจากนี้ยังพบว่ามี 10 บัญชีจาก 107 บัญชี
เคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการซื้อขายบัญชีม้ามาแล้ว
อีกทั้งลักษณะของถิ่นที่อยู่เจ้าของบัญชียังพบว่ามีลักษณะเกาะกลุ่มในพื้นที่เดียวกัน
เช่น ตำบลเดียวกัน หมู่บ้านเดียวกัน โดยมักจะเป็นชุมชนของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
ออกหมายจับเจ้าของบัญชีม้า 518 หมายจับทั่วประเทศ
แบ่งเป็นตำรวจไซเบอร์กว่า 100 หมายจับ และตำรวจท้องที่อีกกว่า
400 หมายจับ บัญชีม้าส่วนใหญ่ที่พบเป็นเยาวชน
บางคนอายุต่ำกว่า 15 ปี มีเงินหมุนเวียนเข้าออกเป็นจำนวนมาก
จึงได้ประสานกับสมาคมธนาคารฯ
ให้เฝ้าจับตาความเคลื่อนไหวของเงินจำนวนมากผิดปกติในบัญชีเยาวชนอายุต่ำกว่า 15
ปี ยืนยันไม่ได้เป็นการคุกคามสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป
ขณะที่นายธวัช ไทรราหู ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย
ยอมรับว่าในการติดตามเงินของผู้เสียหายยังมีอุปสรรคเรื่องของระยะเวลาในการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
และ กรอบอำนาจตามกฎหมายที่จะแก้ปัญหาให้ทันสถานการณ์
แต่ขณะนี้ก็ได้มีการตั้งคณะทำงานไปทำงานร่วมกับตำรวจไซเบอร์
เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว
การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐาน “ 1.ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน
ตาม ป.อาญา มาตรา 343 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ร่วมกันโดยทุจริตหลอกลวง
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน
หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พี่น้องประชาชน
ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5
ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ 3.ร่วมกันฟอกเงิน
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 60
มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี -10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ชัยรัตน์..รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น