“บิ๊กโต้ง” รอง ผบช.ภาค 6 เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ งานคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตำรวจภูธรภาค 6
“บิ๊กโต้ง” รอง ผบช.ภาค 6 เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตำรวจภูธรภาค 6
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.กิติศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผบช.ภ.6
มอบหมายให้ พล.ต.ต.ณัฐวุฒิ ภาคภูมิ รอง ผบช.ภ.6
เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตำรวจภูธรภาค 6
โดยมี พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผบก.สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4, พล.ต.ต.สมนึก
มากมี ผบก.กค.ภ.6, พ.ต.อ.ไพโรจน์
หมื่นกล้าหาญรอง ผบก.ตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท., พ.ต.อ.สนธยา บัวแพง รอง ผบก.สอท.4, พ.ต.อ.ชลิต วิริยะไกร
รอง ผบก.ภ.จว.กำแพงเพชร, พ.ต.อ.ศิริพงศ์ ศรีทันฐ์ รอง
ผบก.ภ.จว.ตาก, พ.ต.อ.นิติศักดิ์ แก้วอ้น รอง
ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์, พ.ต.อ.สถาพร ศรีภิรมย์รอง ผบก.ภ.จว.พิจิตร, พ.ต.อ.ทรงพล
สังข์เกษม รอง ผบก.ภ.จว.พิษณุโลก, พ.ต.อ.ฐิติภัทร อินทรรักษ์
รอง ผบก.ภ.จว.เพชรบูรณ์, พ.ต.อ.ชูศักดิ์ วัฒนโยธิน รอง
ผบก.ภ.จว.สุโขทัย, พ.ต.อ.พฤกษ์ เลี้ยงสุข รอง
ผบก.ภ.จว.อุทัยธานี, พ.ต.อ.พงษ์อาจ ล้ำตระกูล รอง ผบก.สส.ภ.6,
พ.ต.อ.ธำรง จิกิตศิลปิน รอง ผบก.กค.ภ.6, พ.ต.อ.ชาติชาย
ขอบทางศิลป์ รอง ผบก.กค.ภ.6 และ ผู้เข้าร่วมการอบรม ฯ ณ โรงแรมท็อปแลนด์
ห้องคอนเวนชั่น 1 จว.พิษณุโลก
พล.ต.ต.ณัฐวุฒิ ภาคภูมิ รอง ผบช.ภ.6 กล่าววว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ได้กำหนดยุทศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ยุทธศาสตร์ที่ 2
เรื่องการเพิ่มศักยภาพในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาและการให้บริการประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
ข้อ 2.1.5 มุ่งเน้นให้มีการเสริมสร้างประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการดำเนินคดี
รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศในด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
เนื่องจากสภาพปัญหาการขยายตัวของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกยุคดิจิทัล
ทำให้คดีอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น
ทั้งคดีที่ส่งผลต่อความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรงและคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศและได้ตระหนักถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์และสารสนเทศว่าเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
รวมทั้งเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมดิจิทัส(Transformation) ทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยคุมคามทางไซเบอร์
(Cyber Threats)ที่มากขึ้น
การรักษาความมั่นปลอดภัยต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์
จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อองค์การเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีหลายรูปแบบ เช่น
การหลอกลวงออนไลน์ทางด้านการเงิน จำหน่ายสิ่งของผิดกฎหมาย หรือ หลอกลวงจำหน่ายสินค้าออนไลน์
การเผยแพร่ข่าวปลอม การพนันออนไลน์ อาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น มีปริมาณมากขึ้น
ทำให้เกิดความเสียหายและความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ได้จัดทำระบบการรับแจ้งความคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผ่านเว็บไซต์ thaipoliceonline.com เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย สามารถแจ้งความผ่านคอมพิวเตอร์
หรือ โทรศัพท์ สมาร์ทผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ดได้ ซึ่งระบบการรับแจ้งความออนไลน์ดังกล่าว
ได้มีการใช้งานมาระยะหนึ่งแล้วพบว่า ยังมีปัญหาอุปสรรคและไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติในการรับแจ้งความออนไลน์
ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ ประกอบกับระบบรับแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ได้มีการพัฒนาปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ดังนั้นศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทศโนโลยีสารสนเทศ
ตำรวจภูธรภาค 6 จึงได้จัดทำโครงการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน
พนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษในคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถคำเนินดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin) และ ผู้บริหารคดี
(Case Manager) มีความรู้ความเข้าใจและวิธีการใช้งานระบบบริหารจัดการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
(Case Management) เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคดี
รายละเอียดและพฤติกรรมการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีจากระบบบริหารจัดการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
(Case Managernent) เพื่อพิจารณามอบหมายเจ้าหน้าที่ฝ้ายสืบสวน
และพนักงานสอบสวน รับผิดชอบเรื่องที่ได้รับแจ้ง เพื่อสามารถตรวจสอบ
วิเคราะห์รายละเอียดของคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสรุปมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น และพิจารณาว่าสามารถดำเนินการได้ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่หรือไม่
เพื่อเสนอมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อให้ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานสืบสวน
มีความรู้ความเข้าใจในการลงค่า entity และเนื้อหาการรายงานสืบสวนให้ครบทุกองค์ประกอบ
(5W1H) เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เชิงคุณภาพ ตลอดจนให้ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานสืบสวน
เพิ่มขีดความสามารถในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคนร้ายจากแหล่งข่าวเปิด (OSINT)
และนำคำมาเพิ่มใน entity หรือบันทึกไฟล์เอกสารในบันทึกการสืบสวน
เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถนำไปใช้ในสำนวนการสอบสวน
อีกทั้งเพื่อให้ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานสืบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
สามารถนำค่าentity จากการที่ระบบเชื่อมโยงให้อัตโนมัติ
นำมาทำการเชื่อมโยงด้วยโปรแกรมอื่นๆ เช่น 2 มาเพิ่มมิติและเครือข่าย
เพื่อเติมเต็มและเสริมประสิทธิภาทในการวิเคราะห์ เพื่อให้พนักงานสอบสวนในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
สามารถบริหารคดีในกลุ่มที่มีความเชื่อมโยงตัวคนร้าย/กลุ่มคนร้ายเดียวกัน (มัดก้อน)
และ กลุ่มคนร้ายที่กระทำผิดหลายประเภทความผิด.
ไม่มีความคิดเห็น