Header Ads

Breaking News

ตำรวจไซเบอร์ เปิดยุทธการตัดวงจรหลอกลวงระดมทุน กว่า 1,400 ล้าน


ตำรวจไซเบอร์ เปิดยุทธการตัดวงจรหลอกลวงระดมทุน กว่า
1,400 ล้าน

 

เมื่อวันที่ 1 ก.ค.65 เวลา 14.00 น. ณ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ภายใต้การนำของ พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.มนเทียร พันธ์อิ่ม รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอท.4 และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวกรณีจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญ ที่ได้หลอกลวงชักชวนผู้เสียหายให้ร่วมลงทุนออนไลนั ดังนี้

 

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนทราบว่า บริษัท นอร์ทเทิร์น ลอว์เยอร์ จำกัด (Northern Lawer ) โดยผู้ต้องหากับพวก มีพฤติการณ์การโฆษณาชักชวนประชาชนทั่วไปทางสื่อสังคมออนไลน์ ให้มาสมัครเป็นสมาชิกในลักษณะการระดมทุน ซึ่งอ้างว่าจะนำเงินลงทุนของสมาชิกไปทำการลงทุนต่างๆ เช่น ซื้อขายทรัพย์สินดิจิทัล (Cryplocurrency) ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Forex) ซื้อชายทองคำ ธุรกิจค้าขายอสังหาริมทรัพย์ ซื้อขายรถยนต์มือสอง และทำการค้าอัญมณี เป็นตัน

 

โดยจะให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกในอัตราที่สูงสุดถึง 180% ต่อปี การลงทุนจะแบ่งเป็น 5 แพ็กเกจ
เช่น แพ็กเกจแรก เริ่มต้นลงทุนที่ 4,000 บาท ครบ 10 เดือน รับผลตอบแทน 6,000 บาท ไล่เรียงไปตาม
จำนวนเงินลงทุน ไปจนถึงแพ็กเกจสุดท้าย ลงทุนสูงสุดที่ 400,000 บาท ครบ 10 เดือน รับผลตอบแทน
ถึง 600,000 บาท โดยมีสมัครสมาชิกสนใจสมัครเข้าร่วมลงทุนในแพ็กเกจต่างๆ กว่า 90,000 รายการ มี
เงินหมุนเวียนกว่า 1,400 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้มีการนำเงินลงทุนของสมาชิกไปลงทุน หรือทำธุรกิจตามที่
กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่เป็นการหลอกลวงลงทุนในลักษณะของแชร์ลูกใซ่ อันเป็นความผิดตามกฎหมาย

 

กระทั่งเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.65 เวลาประมาณ 10.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด บก.สอท.4 ได้เปิดยุทธการตัดวงจรความเสียหายหลอกระดมทุน เข้าตรวจค้นเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 แห่ง (อ.เมืองเชียงใหม่ 2 แห่ง, อ.สันทราย 3 แห่ง) ผลการปฏิบัติสามารถทำการจับกุมผู้ต้องหาได้ 2 ราย คือ ผู้หญิงเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทฯ และหญิงอีกคนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นวิทยากร และชักชวนหาสมาชิกมาร่วมลงทุน ตามหมายจับของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในข้อหา ”ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตาม ม.4,12 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 (มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี–10 ปี ปรับตั้งแต่ 500,0001,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่) และร่วมกันทุจริต หรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามมาตรา 14(1) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 (มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)”

 

ตรวจยึดทรัพย์สินหลายรายการมูลค่า 32.27 ล้านบาท ได้แก่ โฉนดที่ดิน 7 แปลง รถยนต์ ยี่ห้อ
เบนซ์ 2 คัน กระเป๋าแบรนด์เนม กว่า 10 ใบ และสามารถทำการอายัดเงินในบัญชีของกลุ่มผู้ต้องหาได้ 16.74 ล้านบาท รวมมูลค่าทรัพย์สินกว่า 49 ล้านบาท นำตัวผู้ต้องหาส่ง พงส.บก.สอท.4 ดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งจะได้ดำเนินการสืบสวนขยายผลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป

 

อนึ่งตามคำพิพากษาฎีกาที่ 282/2563 มีเนื้อหาสำคัญส่วนหนึ่งว่า การที่ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยไปลงทุนเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่สูง ซึ่งผลตอบแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับล้วนต้องห้ามตาม พ.ร.บ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4(1) ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ถือว่าเป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรับข้อเสนอดังกล่าวโดยมีเจตนาร้ายมุ่งประสงค์ต่อผลประโยชน์อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

 

ทั้งนี้ การปฏิบัติการของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ยังคงมุ่งเน้นที่จะสนองนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการบังคับใช้กฎหมาย ดำเนินการเชิงรุก ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม คำนึงถึงความเดือดร้อน และการอำนวยความยุติธรรมของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ





 

ไม่มีความคิดเห็น